วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีนวัตกรรมในท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่กำหนดให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวกับท้องถิ่ที่ตนอาศัยอยู่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน (วีรนุช ปิณฑวณิช 2543 : 19)
เนื่องจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น หลักสูตรท้องถิ่นของแต่ละที่จึงตกต่างกันและเหมะสมกับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ การพัฒนาหลักสูตรสำหรับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการเป็นตัวกำหนด เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้ง ซึ่งอาจใช้ในการแบ่งเขตการจัดการศึกษาและความแตกต่างกันของสภาพวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของกลุ่มคนในแต่ละพื้นที่

ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่น

เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดทำขึ้นโดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้รับการพัฒนาขึ้นน้นถือเป็นหลักสูตรแกนกลาง ที่เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสุดท้าย คือ การให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติ หรือมีคุณลักษณะร่วมบางประการที่เหมือนกัน แต่อย่างก็ตามในสภาพความเป็นจริง พื้นฐานทางด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจในประเทศไทยย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนให้กับกลุ่มผู้เรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัจจัยพื้นฐานแตกต่างกัน โดยใช้หลักสูตรกลางเพียงอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมยิ่ง ถึงแม้ภาพรวมของวัฒนธรรมในสังคมไทย จะมีลักษณะร่วมที่เหมือนกันแต่หากพิจารณาภาพย่อยแล้วจะพบกับวัฒนธรรมและสังคมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ดังนั้นการไม่นำวัฒนธรรมและสภาพสังคมและเศรษฐกิจและภูมิปัญญาท้องถิ่นมากำหนดไว้ในหลักสูตรจึงเป็นการจัดการศึกษาที่ละเลยความเป็นไทย ทำให้คนไทยขาดความรู้เกี่ยวกับตนเองและองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
นอกจากนี้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพโดยเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศนั้น ก็ควรมีจุดเน้นที่ต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของไทยอยู่บนฐานของอาชีพเกษตรกรรม แต่การศึกษาไทยที่ผ่านมาจะเน้นการผลิตคนให้มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและการให้บริการ ทั้งที่ในสภาพความเป็นจริงแต่ละพื้นที่เรายังต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีความแตกต่างกันในการพัฒนาอาชีพของคนไทยในด้าน การทำนา ทำสวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้ ทำการประมง เลี้ยงสัตว์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพพื้นฐานที่เพียงพอสำหรับนำไปเป็นต้นทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละลักษณะท้องถิ่น
กล่าวโดยสรุป ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่นก็เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นหลักสูตรระดับชาติ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการนำหลักสูตรระดับชาติมาปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Beauchamp (1968:212) ที่กล่าว่า โรงเรียนแต่ละแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกัน ท้องถิ่นควรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของ
ตนเอง

แนวทางในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ในลักษณะต่อไปนี้
1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ในแต่ละกลุ่มวิชาในทุกระดับชั้นโดยปรับปรุงจากหลักสูตรแกนกลางโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ของหลักสูตรเปลี่ยนแปลง
2.ปรับรายละเอียดของเนื้อหาโดยเพิ่มหรือลดรายละเอียดจากหลักสูตรแกนกลาง
3. ปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ เช่นหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัด หรือสื่ออื่น ๆเพื่อนำมาใช้ในการจัดการรเยนการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อาและสภาพท้องถิ่น โดยสื่อเหล่านี้อาจใช้กับเนื้อในรายวิชาที่มีอยู่เดิมหรือรายวิชาใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็ได้
5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลาง ทั้งนี้คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและความต้องการของท้องถิ่น
ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ในการพัฒนาหลัสูตรท้องถิ่นนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่ง ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (อ้างถึงใน สานปฏิรูปการศึกษา 2544 : 28) ได้เสนอไว้ 12 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตร โดยผู้บริหารโรงเรียนคัดเลือกครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการในท้องถิ่น ตลอดจนผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆมาเป็นคณะทำงานเพื่อร่างหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นที่2 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คณะทำงานต้องทำการศึกษาสภาพและความต้องการของท้องถิ่นเพื่อให้หลักสูตรนั้นๆเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยรวบรวมข้อมูลจากคนในท้องถิ่นด้วยวิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม การสังเกต ฯลฯ สำรวจความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับศักยภาพความต้องการของผู้เรียน ศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพิจารณาว่ามีส่อนใดบ้างที่ท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนด้วยว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงให้โรงเรียนมีความพร้อมมากที่สุด และสามารถนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ
ขั้นที่3 กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร คณะทำงานจะต้องศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นและผู้เรียน จากนั้นกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้นๆ ที่สำคัญคือจะต้องเป็นจุดประสงค์ที่สามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ
ขั้นที่4 กำหนดเนื้อหา เป็นการนำจุดประสงค์จากขั้นที่ 3 มาวิเคราะห์และกำหนดเนื้อหาสาระของรายวิชาอย่างกว้างๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของรายวิชานั้นๆ จากนั้นจึงแยกออกเป็นเนื้อหาย่อย ซึ่งในส่วนนี้สามารถปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องภิ่นและผู้เรียนได้ ตลอดจนมีความต่อเนื่องกับรายวิชาในขั้นต้นและรายวิชาต่างๆ
ขั้นที่5 กำหนดกิจกรรม พิจารณาจากจุดประสงค์แต่ละข้อ กิจกรรมที่กำหนดไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป เน้นทักษะกระบวนการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม โดยมีครูเป็นผู้ประสานกิจกรรมและชี้แนะ
ขั้นที่6 กำหนดคาบการเรียน ถ้ารายวิชาที่จัดทำได้กำหนดให้เป็นวิชาบังคับเลือก คาบเวลาเรียนที่กำหนดจะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร ถ้าเป็นรายวิชาเลือกเสรี สามารถกำหนดตามความเหมาะสมกับจุดประสงค์และเนื้อหาที่กำหนดให้เรียน แต่ความสัมพันธ์กับโครงสร้างของกลุ่มวิชาที่เป็นอยู่เดิมด้วย ในกรณีที่เนื้อหามากอาจจัดทำเป็นหลายวิชา และอาจมีได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ขั้นที่7 กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล คณะที่ทำงานควรกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชาที่ทำขึ้นใหม่เพื่อผู้นำไปใช้จะได้ทำการวัดและประเมินผลได้ตรงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สิ่งที่ควรระบุคือรายวิชาที่สร้างขึ้นจะมีการวัดและประเมินผลแบบใด ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ / หรือเมื่อจบหลักสูตร ใช้วิธีการและเครื่องมือในการวัดผลอะไร ใช้เกณฑ์ใดในการประเมินผล
ขั้นที่8 จัดทำเอกสารหลักสูตร หลังจากจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในรายวิชาใหม่แล้ว ควรจะต้องจัดทำเอกสารหลักสูตร เช่น แผนการสอน คู่มือครู หนังสืออ่านเพิ่มเติม และหนังสือต่างๆ เป็นต้น เพื่อไห้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่9 ตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร คณะทำงานควรจะพิจารณาร่วมกันหรือไห้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร เช่น จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม ฯลฯ มีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร วัสดุหลักสูตร เช่น แผนการสอน สื่อการเรียนการสอนต่างๆ มีความสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่ ภาษาที่ใช้มีความชัดเจนเพียงใด หากพบข้อบกพร่องหรือปัญหา จะทำการแก้ไข จากนั้นคณะทำงานจึงคัดเลือกกลุ่มทดลองและกำหนดวิธีการประเมินผล เพื่อพิจารณาว่าหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างขึ้นมาใหม่ และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่อย่างไรในการทดลองใช้หลักสูตรคณะทำงานจะต้องเตรียมครูผู้สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้หลักสูตรเสียก่อน จากนั้นจึงทดลองให้ครูนำไปใช้ในชั้นเรียน โดยมีการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้จริงต่อไป
ขั้นที่10 เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร เมื่อตรวจสอบคุณภาพและแก้ไขหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วจะต้องนำหลักสูตรที่สร้างขึ้นใหม่เขียนตามแบบฟอร์มที่กระทรวงศึกษากำหนด แล้วเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้นเพื่อขออนุมัติใช้หลักสูตร โดยกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ประกาศใช้หรือเผยแพร่การใช้หลักสูตร
ขั้นที่11 นำหลักสูตรไปใช้ ขณะรอการอนุมัตอใช้หลักสูตรคณะทำงานจะต้องทำการวางแผนใช้หลักสูตรโดยเตรียมการอบรมครูเกี่ยวกับวิธีการใช้หลักสูตร โดยควรจัดในรูปการประชุมเชิงปฏิบัติการ และเมื่อการประชุมสิ้นสุดลงแล้ว ผู้บริหารหรือผู้ได้รับมอบหมายจะต้องนิเทศติดตามผลของการใช้หลักสูตรของครูด้วย เพื่อให้การสอนเป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
ขั้นที่12 ประเมินผลหลักสูตร หลังจากครูนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนระยะหนึ่งแล้ว โรงเรียนควรจัดให้มีการพิจารณาถึงคุณค่าของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไร ให้ผลตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนใด หรือควรจะยกเลิกไป

1 ความคิดเห็น:

  1. 1xbet korean | legalbet.co.kr
    The Best 1xbet korean Betting Sites with Betway Sportsbook in South Korea with Betway. Get Latest Bets, Cash Out Tips and Best Online Bookmaker Reviews. Rating: 4 · ‎Review by legalbet.co.kr

    ตอบลบ